Dimple Smile surgery / การทำลักยิ้ม
ลักยิ้มถือเป็นความงามพิเศษที่ไม่สามารถเกิดได้กับทุกคน สามารถทำให้ใบหน้าแลดูน่ารักและมีเสน่ห์ในตัวเองมากขึ้นลักยิ้มเป็นลักษณะการแยกตัวของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ใช้ในการยกมุมปาก ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนเด่น
ในคนที่มีลักยิ้มกล้ามเนื้อใบหน้าที่ใช้ในการยกมุมปากที่ชื่อ Zygomaticus Major ซึ่งเกาะยึดระหว่างกระดูกโหนกแก้มกับมุมปากจะมีลักษณะแบ่งตัวแยกออกเป็น2 แถบ คือแถบบนและแถบล่าง เวลายิ้มจึงเกิดร่องบุ๋มที่ผิวหนังตรงตำแหน่งระหว่างแถบของกล้ามเนื้อนี้
ลักษณะของลักยิ้มตามธรรมชาติในแต่ละคนอาจมีลักษณะความยาว ความลึก และตำแหน่งที่แตกต่างกัน ขึ้นกับรูปแบบการแยกตัวของกล้ามเนื้อใบหน้ามัดนี้ ดังนั้นการผ่าตัดทำลักยิ้มจะมีด้วยกัน 2 แบบหลักๆคือ คือแบบจุดซึ่งจะเป็นรอยบุ๋มเล็กๆลงไป ส่วนอีกแบบเป็นแบบขีดจะเป็นแนวยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร โดยทั่วไปแพทย์มักจะลากแนวสมมติสองแนวให้ตัดกันเป็นจุด จุดตัดที่เกิดขึ้นจะเป็นตำแหน่งที่จะสร้างลักยิ้มให้ หรือสามารถเลือกตำแหน่งตามที่ต้องการ
ขั้นตอนการผ่าตัดทําลักยิ้ม
- ก่อนผ่าตัดจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อสื่อสารรูปแบบของลักยิ้มที่ต้องการและเหมาะสมกับใบหน้า จากนั้นแพทย์จะวาดตำแหน่งและขนาดลักยิ้มที่จะทำ
- ทำการฉีดยาชาตรงจุดที่จะสร้างลักยิ้ม จากนั้นแพทย์จะเปิดแผลที่กระพุ้งแก้มด้านในที่ตำแหน่งของลักยิ้มที่ต้องการ
- แพทย์จะตัดกล้ามเนื้อบางส่วนจากภายในกระพุ้งแก้ม แล้วจึงเย็บกล้ามเนื้อส่วนที่เหลือเข้ากับผิวหนังของแก้มให้ติดต่อกัน ระหว่ากล้ามเนื้อและผิวหนัง จึงเกิดเป็นรอยบุ๋มตำแหน่งที่ต้องการ
- หลังจากนั้นจึงเย็บปิดแผลภายในกระพุ้งแก้ม ด้วยไหมละลาย
ขั้นตอนปฏิบัติหลังการผ่าตัดทําลักยิ้มและการพักฟื้น
- ลักยิ้มเป็นการเย็บกล้ามเนื้อและผิวหนังให้ติดกัน เพื่อจะได้มีพังผืดยึดระหว่างกันเกิดขึ้น ดังนั้นหลังการผ่าตัดช่วงแรกจะทำให้ลักยิ้มบุ๋มอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1-3 เดือน พังผืดก็จะคลายตัวรอยบุ๋มก็จะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่ผู้ทำยิ้มเท่านั้น
- แผลผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ก็จะหายเป็นปกติ
- หลังจากการผ่าตัดควรกินอาหารเหลว และงดการแปรงฟันในช่วงแรก งดอาหารรสจัดหรืออาหารที่ต้องเคี้ยวใน2 สัปดาห์แรก
- งดการนวดใบหน้า,ยิ้ม,หรือ ขยับแก้ม และระวังการกระทบกระเทือน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้แผลอักเสบและเกิดรอยแยกได้
- ควรหมั่นทำความสะอาดแผลหรือบ้วนปากด้วยน้ำยาที่จัดให้
- การทําลักยิ้มมีวิธีการและขั้นตอนการผ่าตัดที่ไม่ยุ่งยาก ความสําคัญขึ้นอยู่กับการดูแลและปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดในช่องแรกให้ถูกต้องเหมาะสม